![]() |
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง) ตั้งขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2469 เป็นโรงเรียนประเภทนายอำเภอตั้งขึ้น โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดดอนเสลาเป็นสถานที่เล่าเรียน ตั้งชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าผา (วัดดอนเสลา) โดยอาศัยเงินงบประมาณจากกระทรวงธรรมการ เปิดทำการสอนระดับชั้นป.1-ป.4 โดยได้รับความร่วมมือจากท่านพระครูบุญ พรหมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนเสลา กับ ขุนฤทธิ์ท่าผา อดีตกำนันตำบลท่าผา มีนายฟุ้ง วะระทรัพย์ เป็นครูใหญ่ และในปี พ.ศ. 2514 ได้จัดสร้างอาคารเรียนโดยใช้งบประมานจากทางราชการและการบริจาคสมทบจากประชาชน ได้จัดสร้าง พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเรื่อยมา โรงเรียนมีระยะทางจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต2 ประมาณ 28 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาน 43 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 12 ไร่ 52 ตารางวา ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม 1. สภาพชุมชนโดยรวมเป็นชุมชนในเขตปกครองของเทศบาลตำบลท่าผามี 4 หมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนวัดดอนเสลา ได้แก่ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 ในตำบลท่าผาประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพรับจ้างทำกสิกรรม เนื่องจากอำเภอบ้านโป่งเป็นเมืองอุตสาหกรรม สภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ชุมชนให้ความสำคัญด้านการศึกษา และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนได้ดีเสมอมามีการประสานความร่วมมือจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น ชุมชนบ้านดอนเสลา หมู่ต่างๆ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มรักบ้านเกิด กลุ่มแอโรบิกยามเย็น เป็นต้น 2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักคือ รับจ้าง ทำสวน ทำไร่ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 40,000บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน 3. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง) ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลท่าผามี 4 หมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนวัดดอนเสลา ได้แก่ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 แต่มีนักเรียนจากตำบลใกล้เคียงมาเข้ารับการศึกษาอีก ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น รับราชการ รัฐวิสาหกิจ รับจ้าง ค้าขาย โรงงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เป็นต้น แต่ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ สภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง สถานที่อยู่อาศัยของนักเรียน ส่วนใหญ่พักอยู่กับบิดา และมารดา มีเป็นบางส่วนที่ครอบครัวแตกแยก ต้องอาศัยอยู่กับญาติ การเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนมีหลากหลายเช่น การเดินทางเท้า การใช้จักรยาน ผู้ปกครองมาส่งด้วยตนเอง โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน วัด ผู้นำชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงงานกระดาษ SCGP บ้านโป่ง โดยมีการให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในหลายๆด้านเช่น สนับสนุนด้านกำลังทรัพย์ อาหารกลางวัน สื่อ อุปกรณ์การเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น |
